วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

ให้นักเรียนเขียนสรุปการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)  ใน Web Blog ของแต่ละคน และแจ้ง URL ของนักเรียนให้ครูทราบเพื่อจะได้เข้าไปตรวจให้คะแนน
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้                        
ชื่อ กฤตภาส ลายพัฒน์  ม.5/9  เลขที่ 9
กลุ่มที่ 2
ปัญหาที่นักเรียนศึกษา สังคมก้มหน้า
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
   -เกิดจากการที่สังคมปัจจุบันมีการเล่นโทรศัพท์หรือพวกโซเชี่ยลมากเกินไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากมาย เช่น ผู้คนคุยต่อหน้ากันน้อยลง ไม่มีความมั่นใจในการพูดคุยต่อหน้า ปัญหาการใช้สายตามากเกินไป  ดังนั้น พวกเราจึงต้องการจะสื่อให้เห็นและเข้าใจถึงข้อเสียของโซเชี่ยลที่ใช้กันในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหาของการติดโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค
2.เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างภาพยนต์สั้น
ผลการศึกษา (ให้เขียนตามวัตถุประสงค์ )
1.จะได้เรียนรู้ เข้าใจและป้องกันการเล่นโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คมากเกินไป
2.เพื่อที่จะได้เข้าใจการสร้างภาพยนต์สั้น
เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
 1.ปลูกฝังให้รุ่นลูกหลานของเราใช้โซเชี่ยลอย่างพอเหมาะ
2.แบนหรือปิดเว็บไซต์ที่อนาจารหรือไม่เหมาะสมกับเด็กอายุไม่ถึง18ปี
3.มีการแนะนำและเชิญชวนให้ผู้คนใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์คอย่างมีสติ
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS1
1.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานกลุ่มและความสามัคคี
2.ได้รู้ว่ากว่าจะมาเป็นภาพยนต์แต่ละเรื่อง ทุกคนต้องพยายามและช่วยกันทำมันมากแค่ไหน

3.ได้รู้แนวทาง ความชอบ และการศึกษาต่อของเราต่อไป

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิธีแก้ปัญหา

1) ให้ผู้ปกครองวางกติกาในการใช้โทรศัพท์

2) ปลูกจิตสำนึก และเตือนใจอยู่เสมอว่าต้องแบ่งเวลาไปทำอย่างอื่นบ้าง

ภาพประกอบ








ที่มา : http://www.kiitdoo.com//22-ภาพ-สังคมก้มหน้า/

สุขภาพกายในทางลบเมื่อใช้โทรศัพท์มากจนเกินไป

ทำให้รู้สึกเศร้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่สามารถควบคุมสภาพจิตใจตนเองได้ หงุดหงิดกังวลใจกับเรื่องเล็กน้อย ทำงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายเสร็จไม่ทัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง เบื่อหน่ายท้อแท้ กับการดำเนินชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรม ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ในขณะนี้คือ เซลฟี่ ขี้อิจฉา ซึมเศร้าได้แก่ ทำให้รู้สึกเศร้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่สามารถควบคุมสภาพจิตใจตนเองได้ หงุดหงิดกังวลใจกับเรื่องเล็กน้อย ทำงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายเสร็จไม่ทัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง เบื่อหน่ายท้อแท้ กับการดำเนินชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรม ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ในขณะนี้คือ เซลฟี่ ขี้อิจฉา ซึมเศร้า

ผลเสียของการใช้โทรศัพท์

ในปัจจุบันเด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ และผู้ปกครองไม่ชี้แนะ หรือควบคุมการใช้งานอย่างจริงจัง ก็จะส่งผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ผลดีของการใช้โทรศัพท์

สร้างความสะดวกในการสื่อสาร สามารถส่งได้ทั้งภาพและเสียง อีกทั้งประหยัดไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์  ทำให้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น เข้าใจและพอใจกับชีวิตของตนเอง มีความสุขกับสิ่งที่ทำแต่ละวัน สามารถจัดการปัญหาต่างๆ ให้สำเร็จ มีความมุ่งมั่นในการทำภารกิจต่างๆ รู้สึกสนุก เพลิดเพลินใจ

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์ของบริษัท Quantified Impressions

          ระบุว่าคนเรามักสบตากัน 30 - 60 % ของเวลาที่ใช้ในการสนทนา แต่ข้อแนะนำคือ ควรเพิ่มการสบตาให้มากขึ้นเป็น 60 - 70 % เพื่อสร้างความรู้สึกเชื่อมต่อด้านอารมณ์หรืออารมณ์ร่วมให้เกิดขึ้น แต่ปัญหาหนึ่งของเรื่องนี้คือการมีอุปกรณ์มือถือใช้งานและการทำงานหลายอย่างไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะในคนกลุ่มหนุ่มสาวในสังคมก้มหน้า ซึ่งทำให้ต้องใช้สายตาจับที่หน้าจอแทนที่จะสบตากับคู่สนทนา

         อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาเตือนว่าการก้มหน้าลงตรวจอุปกรณ์มือถืออยู่เป็นประจำอาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า บุคคลนั้นไม่พอใจกับชีวิตหรือความสัมพันธ์ที่ตนมีอยู่ กับผู้อื่น ทำให้ต้องคอยตรวจสอบความเคลื่อนไหวในเครือข่ายของตนอยู่เป็นประจำเพื่อดูว่าตนได้พลาดโอกาสทางสังคมเรื่องใดไปบ้าง


          ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การสบตากับผู้อื่นระหว่างการสนทนาช่วยแสดงถึงความมั่นใจและการให้ความเคารพต่อผู้อื่น และการสบตาจะให้ผลดีที่สุดหากใช้เวลานานราว 7-10 วินาทีกับคู่สนทนาแบบตัวต่อตัว และ 3-5 วินาทีสำหรับการสนทนาแบบเป็นกลุ่ม