วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิธีแก้ปัญหา

1) ให้ผู้ปกครองวางกติกาในการใช้โทรศัพท์

2) ปลูกจิตสำนึก และเตือนใจอยู่เสมอว่าต้องแบ่งเวลาไปทำอย่างอื่นบ้าง

ภาพประกอบ








ที่มา : http://www.kiitdoo.com//22-ภาพ-สังคมก้มหน้า/

สุขภาพกายในทางลบเมื่อใช้โทรศัพท์มากจนเกินไป

ทำให้รู้สึกเศร้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่สามารถควบคุมสภาพจิตใจตนเองได้ หงุดหงิดกังวลใจกับเรื่องเล็กน้อย ทำงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายเสร็จไม่ทัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง เบื่อหน่ายท้อแท้ กับการดำเนินชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรม ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ในขณะนี้คือ เซลฟี่ ขี้อิจฉา ซึมเศร้าได้แก่ ทำให้รู้สึกเศร้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่สามารถควบคุมสภาพจิตใจตนเองได้ หงุดหงิดกังวลใจกับเรื่องเล็กน้อย ทำงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายเสร็จไม่ทัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง เบื่อหน่ายท้อแท้ กับการดำเนินชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรม ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ในขณะนี้คือ เซลฟี่ ขี้อิจฉา ซึมเศร้า

ผลเสียของการใช้โทรศัพท์

ในปัจจุบันเด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ และผู้ปกครองไม่ชี้แนะ หรือควบคุมการใช้งานอย่างจริงจัง ก็จะส่งผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ผลดีของการใช้โทรศัพท์

สร้างความสะดวกในการสื่อสาร สามารถส่งได้ทั้งภาพและเสียง อีกทั้งประหยัดไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์  ทำให้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น เข้าใจและพอใจกับชีวิตของตนเอง มีความสุขกับสิ่งที่ทำแต่ละวัน สามารถจัดการปัญหาต่างๆ ให้สำเร็จ มีความมุ่งมั่นในการทำภารกิจต่างๆ รู้สึกสนุก เพลิดเพลินใจ

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์ของบริษัท Quantified Impressions

          ระบุว่าคนเรามักสบตากัน 30 - 60 % ของเวลาที่ใช้ในการสนทนา แต่ข้อแนะนำคือ ควรเพิ่มการสบตาให้มากขึ้นเป็น 60 - 70 % เพื่อสร้างความรู้สึกเชื่อมต่อด้านอารมณ์หรืออารมณ์ร่วมให้เกิดขึ้น แต่ปัญหาหนึ่งของเรื่องนี้คือการมีอุปกรณ์มือถือใช้งานและการทำงานหลายอย่างไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะในคนกลุ่มหนุ่มสาวในสังคมก้มหน้า ซึ่งทำให้ต้องใช้สายตาจับที่หน้าจอแทนที่จะสบตากับคู่สนทนา

         อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาเตือนว่าการก้มหน้าลงตรวจอุปกรณ์มือถืออยู่เป็นประจำอาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า บุคคลนั้นไม่พอใจกับชีวิตหรือความสัมพันธ์ที่ตนมีอยู่ กับผู้อื่น ทำให้ต้องคอยตรวจสอบความเคลื่อนไหวในเครือข่ายของตนอยู่เป็นประจำเพื่อดูว่าตนได้พลาดโอกาสทางสังคมเรื่องใดไปบ้าง


          ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การสบตากับผู้อื่นระหว่างการสนทนาช่วยแสดงถึงความมั่นใจและการให้ความเคารพต่อผู้อื่น และการสบตาจะให้ผลดีที่สุดหากใช้เวลานานราว 7-10 วินาทีกับคู่สนทนาแบบตัวต่อตัว และ 3-5 วินาทีสำหรับการสนทนาแบบเป็นกลุ่ม

ผลกระทบ

    1)  มีผลทำให้เราใจร้อน คาดหวังผลเร็วขึ้น อารมณ์หงุดหงิดง่าย

              แต่เดิมในยุคที่เราสื่อสารด้วยการ ส่งจดหมายติดแสตมป์ต้องใช้เวลาเป็นหลักวัน กว่าที่จะสื่อสารกันได้หากว่าเป็นข้ามทวีปด้วยแล้วเป็นหลักสัปดาห์ทีเดียว
               แต่ปัจจุบันส่งอีเมลข้ามทวีปไปแล้วหากมองนาฬิกาแล้วคิดว่า อีกฝ่ายน่าจะต้องตื่นแล้ว และไม่ตอบมาในทันที อีกฝ่ายก็รู้สึกขุ่นมัวแล้วว่าอีกฝ่ายหายไปไหน ทำไมไม่ตอบ เพราะมีสมมุติฐานเบื้องต้นว่า โลกหมุนเร็วแล้วทุกคนต้องเร็วเท่ากัน พอเกิดความคาดหวังแล้วไม่สมหวัง ก็เกิดอารมณ์ขุ่นมัว และบ่อย ๆ ครั้งก็ไม่รู้ว่า นั่นคือการเกิดโทสะขึ้นมาแล้ว เก็บความคับข้องใจกลายเป็นอารมณ์ต่อไปอีก
       
   2) ขาดสติ ขาดความรู้ตัวทั่วพร้อม จนอาจจะก่อเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
          นอกเหนือไปจากนี้ การที่สังคมเราเป็น “สังคมก้มหน้า” ใจลอย จิตไปจดจ่ออยู่กับเนื้อหา “คอนเทนต์” บนหน้าจอสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต จนไม่เหลือปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก ทั้ง ๆ ที่บางทีอยู่ในภาวะที่จำเป็นต้องระมัดระวังตัว เช่น การข้ามถนน หรือขับรถอยู่บนทางด่วน นั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนจิตใจแบบใด “ความรู้ตัวทั่วพร้อมยังอยู่ครบดีหรือไม่ หรือว่าจิตใจเราลอยไปอยู่กับสิ่งอื่นและไม่สามารถที่จะควบคุมด้วยตนเองได้อีกต่อไปแล้ว

วิดีโอประกอบเกี่ยวกับสังคมก้มหน้า